จากขยะ PET ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ – การรีไซเคิลขั้นตอนเดียวกำลังมาแรง
ทุกปี มีการรีไซเคิล PET ปริมาณ 1.3 ล้านตันทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยี VACUREMA ของบริษัท EREMA ซึ่งแสดงว่า แนวโน้มของการขึ้นรูปเกรดสัมผัสอาหารของผลิตภัณฑ์ PET กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องมีการผลิตเพลเลตป็นขั้นตอนกลาง โดยเกล็ด PET โม่บดหลังการบริโภค หรือการผลิตขยะ PET จะขึ้นรูปโดยตรงและในขั้นตอนเดียว เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย ซึ่งรวมฟรีฟอร์มที่สอดคล้องกับการสัมผัสอาหาร สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม แผ่นชีทที่ขึ้นรูปด้วยความร้อน และเส้นใย
บริษัทผู้ผลิตเครื่องรีไซเคิลของออสเตรียดังกล่าว กล่าวว่า ได้จำหน่ายเครื่อง VACUREMA ไปแล้ว 24 เครื่องในเวลา 15 เดือนที่ผ่านมา
EREMA ยังนำเสนอเครื่องปฏิกรณ์อเนกประสงค์ (Multi-Purpose Reactor หรือ MPR) ซึ่งเป็นเครื่องอบทำให้ตกผลึกที่มีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่กำลังเปลี่ยนโรงงานอัดรีด PET ที่มีอยู่ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ปลายทางที่สอดคล้องกับระเบียบการต้องสัมผัสอาหาร
Christoph Woss ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายการผลิตขวด ของ EREMA กล่าวว่า เครื่อง MPR กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ลูกค้า ที่มีเครื่องช่วยตกผลึกและเครื่องอบแบบเดิม และประสบกับปัญหาของเวลาการขึ้นรูปที่ยาวนาน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น ในขณะที่การบริโภคพลังงานอยู่ที่ 0.1kWH/กก. ซึ่ง MPR เป็นทั้งเครื่องช่วยตกผลึกและเครื่องอบในเวลาเดียวกัน ทำให้เป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจด้านราคา
วัสดุจะผ่าน MPR เข้าไปในระบบการอัดรีด และขึ้นรูปโดยตรง แล้วออกมาเป็นแผ่นชีท ทั้งนี้ วัสดุต่างๆ เช่น ขวด PET ที่เป็นเกล็ดโม่บดที่ล้างแล้ว ขยะที่เป็นชีทบางทำจาก PET ที่บดแล้ว และวัสดุ PET บริสุทธิ์ และส่วนผสมของวัสดุเหล่านี้ จะถูกแยกสารปนเปื้อน ซึ่งจะทำให้สามารถสัมผัสอาหารได้ ก่อนการอัดรีด
บริษัท Sky-light ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ของเดนมาร์ก ใช้ระบบ MPR ของ EREMA ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวผลิตฝา ถ้วย และถาดสำหรับขนส่ง จำนวนหลายร้อยล้านชิ้น สำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ และยา
Soren Larsen เจ้าของ Sky-light กล่าวว่า บริษัทฯ วางใจกับระบบ MPR ของ EREMA ในส่วนของความสอดคล้องของกฎระเบียบของ PET ที่สัมผัสอาหาร และครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ใช้ระบบดังกล่าว เมื่อบริษัทฯ ขยายกำลังการผลิต ก็ได้เพิ่ม MPR กับเครื่องอัดรีดสกรูว์คู่
การเปิดตัวของ MPR เมื่อปีที่แล้ว เป็นการปรับปรุงด้านเทคนิคและราคา โดยสามารถลดโหลดที่เชื่อมโยงได้กว่า 30% โดยยังคงผลผลิตไว้ได้
Roberto Alibardi ประธาน บริษัท Alimpet กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบวกกับผลผลิตที่ออกมา ทำให้มีระยะเวลาการตัดจำหน่ายที่สั้นและคาดการณ์ได้ ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวตั้งอยู่ในอิตาลี เป็นเครือของบริษัท Aliplast Group ผลิตแผ่นชีทที่ขึ้นรูปด้วยความร้อน จาก PET หลังบริโภค ซึ่งจะนำไปใช้ผลิตภาชนะที่ขึ้นรูปด้วยความร้อนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
อนึ่ง การเปิดตัวดังกล่าวมาพร้อมกับระบบออโตเมชั่นมากขึ้น และการบำรุงรักษาที่ง่ายขึ้น ด้วยระบบสุญญากาศ อ่างน้ำในกระบวนการจะถูกแทนที่โดยปั๊มป์สุญญากาศ ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อีกทั้งมีการปรับปรุงให้กะทัดรัด จึงทำให้ประหยัดพื้นที่ได้ 20%